ที่เทือกเขาแอลป์ของประเทศอิตาลี มีฟอสซิลหนึ่งซึ่งถูกค้นพบเมื่อปี 1931 เป็นโครงร่างสีเข้ม ลึก ลักษณะคล้ายกิ้งก่า โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นฟอสซิลผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อนที่ถูกหุ้มอยู่ในหิน และประเมินว่าอาจมีอายุประมาณ 280 ล้านปี

ฟอสซิลดังกล่าวถูกตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “ไทรเดนติซอรัส แอนติคูส” (Tridentinosaurus antiquus) และมันถูกมองว่าเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในการทำความเข้าใจวิวัฒนาการของสัตว์เลื้อยคลานในโลกยุคแรกมาโดยตลอด

รพ.ทั่วเกาหลีใต้วิกฤต แพทย์ฝึกหัดเกือบหมื่นลาออก-หยุดงานประท้วง

สหรัฐฯ ตั้งข้อหามาเฟียญี่ปุ่น-ผู้สมรู้ร่วมคิดชาวไทย ค้าวัสดุนิวเคลียร์

พบไข่โบราณอายุ 1,700 ปี ข้างในยังมีไข่ขาว-ไข่แดงอยู่ครบ!

ฟอสซิลนี้ยังปรากฏในหนังสือและบทความอ้างอิงทางวิชาการตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่ไม่มีใครเคยศึกษาอย่างละเอียด ฟอสซิลโบราณชิ้นนี้ตั้งอยู่ในคอลเล็กชันที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและมนุษยชาติแห่งมหาวิทยาลัยปาดัวในอิตาลี

การค้นพบนี้ถือเป็นการค้นพบที่หายากย เพราะเป็นฟอสซิลที่มีเนื้อเยื่ออ่อนซึ่งมีโอกาสที่จะมีข้อมูลทางชีววิทยาที่สำคัญ เช่น DNA เมื่อค้นพบตัวอย่างนี้ นักวิจัยจึงคิดว่า ฟอสซิลดังกล่าวอาจให้ข้อมูลเชิงลึกที่หาได้ยากเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสัตว์เลื้อยคลาน

ช็อกทั้งวงการ! ฟอสซิลโบราณชื่อดังความจริงแล้วเป็นแค่ “ภาพสลัก”

อย่างไรก็ตาม มีคำถามมากมายเกี่ยวกับลักษณะที่แน่นอนของสิ่งมีชีวิตเจ้าของฟอสซิลนั้น เพราะนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถหาตัวอย่างฟอสซิลที่คล้ายกันเพิ่มเติมได้เลย

และล่าสุดมีการวิจัยใหม่ระบุว่า ฟอสซิลดังกล่าวที่คิดกันมาโดยตลอดว่าเป็นตัวอย่างของสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีนั้น ความจริงแล้ว “ส่วนใหญ่เป็นของปลอม”

การวิเคราะห์โดยละเอียดใหม่เผยให้เห็นว่า สีเข้ม ๆ ของฟอสซิลที่เห็นนั้นไม่ได้ถูกเก็บรักษาไว้โดยสารพันธุกรรม แต่เป็นเพียงสีดำที่ปกคลุมกระดูกสองสามชิ้นและหินแกะสลักเท่านั้น

ดร. วาเลนตินา รอสซี นักวิจัยสาขาบรรพชีวินวิทยาที่มหาวิทยาลัยคอลเลจคอร์ก ในไอร์แลนด์ หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า “โครงร่างของตัวอย่างฟอสซิลนี้มีสีเดียวกับเนื้อเยื่ออ่อนฟอสซิลพืชและสัตว์ของแท้ ดังนั้น หากปราศจากการใช้เทคนิคการวินิจฉัย มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะระบุวัสดุสีเข้มได้อย่างถูกต้อง”

เธอเสริมว่า “ตอนแรกเราเชื่อกันว่าฟอสซิลนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเนื่องจากไม่มีตัวอย่างอื่นที่พบในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และช่วงเวลาทางธรณีวิทยาเดียวกัน”

นอกจากนี้ ยังมีสิ่งแปลกประหลาดเกี่ยวกับฟอสซิลไทรเดนติซอรัสฯ นี้ เช่น ไม่มีกระดูกที่มองเห็นได้โดยทั่วไป รวมถึงกระดูกกะโหลกศีรษะ แม้ว่าร่างกายจะไม่ได้ดูแบนราบก็ตาม ดังนั้นการประเมินเบื้องต้นจึงมองว่า ฟอสซิลนี้อาจเป็นมัมมี่ของสัตว์เลื้อยคลานโบราณ

“คำอธิบายที่เป็นไปได้คือกระดูกถูกซ่อนอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง จึงไม่สามารถมองเห็นได้ เพราะมันมีตัวอย่างมัมมี่ไดโนเสาร์อยู่บ้าง ซึ่งกระดูกยังคงห่อหุ้มอยู่ภายในผิวหนังและเก็บรักษาไว้ในรูปแบบ 3 มิติเหมือนกับมัมมี่มนุษย์” รอสซีกล่าว

จากความสนใจในความไม่ชัดเจนที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับฟอสซิลไทรเดนติซอรัสฯ รอสซีและเพื่อนร่วมทีมจึงเริ่มการศึกษาในปี 2021 ด้วยการตรวจสอบด้วยภาพถ่ายอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet Photography) และพบว่า ฟอสซิลเหมือนถูกอะไรบางอย่างเคลือบไว้อย่างหนา ๆ

มาเรียกาบรีเอลลา ฟอร์นาซิเอโร ภัณฑารักษ์ด้านบรรพชีวินวิทยาแห่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและมนุษยชาติ ผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่า “การเคลือบฟอสซิลด้วยสารเคลือบเงาเป็นวิธีการอนุรักษ์แบบโบราณ เพราะในอดีตไม่มีวิธีอื่นที่เหมาะสมในการปกป้องฟอสซิลจากการเน่าเปื่อยตามธรรมชาติ”

ด้วยความหวังที่จะค้นหาข้อมูลทางชีวภาพเกี่ยวกับฟอสซิลที่อยู่ใต้ชั้นเคลือบ ทีมงานจึงใช้กล้องจุลทรรศน์อันทรงพลังเพื่อวิเคราะห์ตัวอย่างซากในช่วงความยาวคลื่นต่าง ๆ ของแสง

นักวิจัยพบว่า สิ่งที่คิดว่าเป็นฟอสซิลนั้น เป็น “การแกะสลักหิน” และ ”ทาสีทับด้วยถ่านสัตว์” หรือสีที่นิยมใช้กันเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้วซึ่งได้จากการเผากระดูกสัตว์

เมื่อเป็นการแกะสลักจึงเป็นคำอธิบายที่สมเหตุสมผลว่า เหตุใดตัวอย่างฟอสซิลจึงดูเหมือนยังคงมีรูปร่างเหมือนจริง แทนที่จะดูแบนราบเหมือนฟอสซิลแท้

“คำตอบสำหรับคำถามทั้งหมดของเราอยู่ตรงหน้าเราแล้ว เราต้องศึกษาตัวอย่างฟอสซิลนี้อย่างละเอียดเพื่อเปิดเผยความลับของมัน แม้แต่สิ่งที่บางทีเราอาจไม่ต้องการรู้ก็ตาม” รอสซีกล่าวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ผลลัพธ์เป็นสิ่งที่ไม่คาดคิด แต่อธิบายได้ว่าทำไมฟอสซิลไทรเดนติซอรัสฯ นี้จึงทำให้นักวิจัยงุนงงมานานหลายทศวรรษ

กระนั้น ก็มีเรื่องที่น่าประหลาดใจ เพราะมีกระดูกจริง ๆ อยู่ในภาพแกะสลักฟอสซิลนี้ด้วย โดยพบบริเวณขาหลังของภาพ แม้จะอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ แต่ก็เป็นกระดูกของจริง และยังมีร่องรอยของกระดูกออสทีโอเดิร์มหรือโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นเกล็ดอีกด้วย ขณะนี้นักวิจัยกำลังพยายามระบุอายุที่แน่นอนของกระดูกว่าเป็นสัตว์ชนิดใด

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการค้นพบการปลอมแปลงฟอสซิล แต่รอสซีกล่าวว่า กรณีของฟอสซิลไทรเดนติซอรัสฯ ที่มีการปลอมแปลงแบบเฉพาะนี้ถือว่าไม่ธรรมดา

“ฟอสซิลเดียวที่ฉันรู้ว่าเคยถูกทาสีทับ คือฟอสซิลกุ้งเครฟิชซึ่งถูกทำให้ดูเหมือนแมงมุมยักษ์ ในกรณีนั้น ไม่ได้ระบุประเภทของสี แต่ฉันพนันได้เลยว่าเป็นสีที่มีคาร์บอนคล้ายกับที่เราพบในฟอสซิลของเรา” เธอบอก

เนื่องจากขาดบันทึกเกี่ยวกับฟอสซิลนี้ รวมถึงคำอธิบายถึงสิ่งที่พบในปี 1931 รอสซีและทีมวิจัยของเธอจึงไม่สามารถแน่ใจได้เลยว่า การปลอมแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่

อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่

เรียบเรียงจาก CNN

Air Japan แจงเหตุยกเลิกเที่ยวบิน อากาศยานขัดข้อง คาดเปิดให้บริการ 23 ก.พ.นี้

สรุป 16 ทีมสุดท้าย ยูโรป้า ลีก ลิเวอร์พูล มีโอกาสจับเจอทีมใด

กางปฏิทิน เงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างประจำ จ่าย 2 รอบ ปี 2567

By admin