นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า จากข้อมูลเครดิตบูโรในไตรมาส 3 ปี 66 พบว่าหนี้ด้อยคุณภาพ หรือหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) มีทั้งสิ้น 1.05 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่มี 1.03 ล้านล้านบาท คิดเป็น 7.7% ของสินเชื่อรวม คิดเป็นลูกหนี้เอ็นพีแอล 10 ล้านบัญชี โดยหนี้เสียน่ากังวลมากที่สุดเป็นหนี้เสียรถยนต์ที่มีมากถึง 6.94 แสนบัญชี เพิ่มขึ้น 8.6% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน คิดเป็น 2.07 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 20.9% คาดสิ้นปีนี้เอ็นพีแอลไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท แต่ไม่ขึ้นไปจนถึงสุดสูงสุดเมื่อปี 65 ขึ้นอยู่กับการปรับโครงสร้างหนี้ว่าจะรวดเร็วแค่ไหน

ขณะที่หนี้ค้างชำระตั้งแต่ 30-90 วัน (เอสเอ็ม) อยู่ที่ 5 แสนล้านบาท คิดเป็น 1.95 ล้านบัญชี เป็นหนี้ที่ใกล้จะเป็นเอ็นพีแอลที่ต้องติดตาม เป็นหนี้รถยนต์ที่มีเอสเอ็ม 2.13 แสนล้านบาท จำนวน 5.6 แสนบัญชี และหนี้บ้าน 1.36 แสนล้านบาท จำนวน 1.05 แสนบัญชี ซึ่งหนี้รถยนต์มีปัญหาทั้งเป็นหนี้เสียและกำลังจะเป็นหนี้เสีย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเจนวาย ด้านหนี้ที่ปรับโครงสร้างมี 9.9 แสนล้านบาท คิดเป็น 7.3% ของสินเชื่อรวม โดยยังต้องเร่งปรับโครงสร้างในปีนี้ เพราะเป็นปีสุดท้ายที่หมดมาตรการช่วยเหลือ หรือมาตรการฟ้าส้ม คาดว่าในไตรมาสสุดท้ายปีนี้การปรับโครงสร้างหนี้จะมากกว่า 1 ล้านล้านบาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

“ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปลี่ยนการกันเงินสำรองหนี้ใหม่ ให้คงระดับไว้ ห้ามลด และถ้าผ่อนผันมากเกินไปกับลูกหนี้จะสั่งสำรองหนี้เพิ่ม ซึ่งจะเข้มงวดมากขึ้นดังนั้นลูกหนี้ที่จะกู้ใหม่ยากขึ้น เพราะเข้มขึ้น และลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ก็จะดูกระแสเงินสด กลับไปเข้มแบบเดิม จะสอดคล้องกับสถานการณ์หรือไม่ต้องติดตาม แต่ไม่มีปัญหาหนี้ไม่ทะลุทะลวง หนี้เสียไม่ระเบิดแต่ก็ไม่ลด”

นายสุรพล กล่าวว่า กลุ่มลูกหนี้ที่น่ากังวลและต้องเร่งแก้ไขคือ ลูกหนี้เอ็นพีแอลที่เกิดเพราะโควิด หรือลูกหนี้บัญชีรหัส 21 ซึ่งปัจจุบันดือน ก.ย. 66 มีทั้งสิ้น 3.9 แสนล้านบาทคิดเป็น 3.5 ล้านคน สินเชื่อที่เป็นรหัส 21 มากที่สุด คือ สินเชื่อรถยนต์ 3.9 หมื่นล้านบาท จำนวน 8.8 หมื่นบัญชี และสินเชื่อบุคคล 9.2 หมื่นล้านบาท จำนวน 3.18 ล้านบัญชี และอยู่กับธนาคารพาณิชย์ 5.23 แสนบัญชี คิดเป็น 1.1 แสนล้านบาท และแบงก์รัฐ 2.96 ล้านบัญชี คิดเป็น 1.89 แสนล้านบาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

สำหรับหนี้ครัวเรือนที่อยู่ภายใต้ข้อมูลของเครดิตบูโร ไตรมาส 3 ปี 66 อยู่ที่ 13.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งไม่รวมหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ 2 ล้านล้านบาท และหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 5 แสนล้านบาท โดยหนี้จากข้อมูลเครดิตบูโร เป็นหนี้บัตรเครดิต 5.46 แสนล้านบาท จำนวน 23.8 ล้านใบ ซึ่งมี 6 ล้านใบไม่เคยใช้เลย แสดงว่าเป็นบัตรที่เกินความจำเป็น

นอกจากนี้ ยังเป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล 31.7 ล้านบัญชี คิดเป็น 2.58 ล้านล้านบาท หนี้รถยนต์ 6.5 ล้านบัญชี คิดเป็น 2.61 ล้านล้านบาท เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับ ธปท. เช่น จากค่ายรถยนต์ รวม 2,300 ราย แต่มีสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ดูแล และ ธปท. กำลังออกเกณฑ์กำกับอยู่ รวมทั้งค่ายรถยนต์จีนที่ปล่อยสินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) กำลังขอเข้าเป็นสมาชิกเครดิตบูโรเพื่อให้เห็นข้อมูลหนี้ต่างๆ

By admin